สวัสดีคุณครูทุกท่านครับ วันนี้ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ แจกฟรี ตัวอย่างผังมโนทัศน์ 66 โครงงานคุณธรรม และผังปฏิทินการดำเนินงาน โดยพระอาจารย์วชิระ สุปภาโส ประจำปี 2566
ตัวอย่างผังมโนทัศน์ 66 คืออะไร
โครงงานคุณธรรม หรือโครงงานความดี เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการทำความดีมีคุณธรรม
แบบเชิงรุก โดย ให้ผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมการเรียนรู้นี้เอง ผ่านเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Approach) โดยประเด็นที่เลือกทำโครงงานนั้นเกิดขึ้นมาจากความสนใจและความคิดริเริ่มของผู้เรียนเอง เน้นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มที่ลงมือปฏิบัติงานจริง
ด้วยความพากเพียรพยายามอย่างจดจ่อต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร
(ต้องทำงานจริงไม่น้อยกว่า ๒ เดือน) ในลักษณะวิจัยปฏิบัติการ (action research)
นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านความเสื่อมทรามทางศีลธรรม และส่งเสริมการบ่มเพาะความดีมีคุณธรรมอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ รวมทั้งการขยายความมีส่วนร่วมไปสู่บุคคลต่างๆ ในสถานศึกษาและชุมชนของตนเองหรือชุมชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างผังมโนทัศน์66 โดยพระอาจารย์วชิระ
“โครงงานคุณธรรม” คืออะไร
หรือที่คุณครู นักเรียนทำงานด้านคุณธรรมมักเรียกอีกอย่างว่า “โครงงานความดี” ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ครู หรือพระสอนศีลธรรม ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมกันทำความดี โดยนักเรียนเลือกประเด็นปัญหาที่มีความสนใจร่วมกันเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านศีลธรรมคุณธรรมที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เช่น ในโรงเรียน ชุมชน เป็นต้น แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันผ่านการทำโครงงาน ด้วยกระบวนการทางปัญญาหรือหลักอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงงานคุณธรรม 6 ขั้นตอน คือ
1.การตระหนักรู้ในปัญหา 2.การรวบรวมข้อมูล 3.การจัดทำร่างโครงงานคุณธรรม 4. การดำเนินการโครงงานคุณธรรม
5.การสรุปประเมินผลและเขียนรายงาน และ 6. การนำเสนอโครงงานคุณธรรม
การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานคุณธรรม เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาสติ สมาธิ และปัญญา หรือพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างเป็นองค์รวมได้ ทั้งด้านพฤติกรรมด้านศีล คุณธรรม และปัญญาได้อย่างมีผลดีต่อนักเรียน เพราะว่านักเรียนที่ทำโครงงานคุณธรรมจะต้องใช้ทักษะ และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่าง ทำให้สมองทำงานทุก ๆ ส่วน เริ่มตั้งแต่การมองเห็นปัญหา การทำให้ปัญหาต่าง ๆ สัมผัสได้มีความหมายต่อนักเรียน ต่อมาสมองก็ต้องค้นหาวิธีการที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติจริง และเมื่อปฏิบัติได้สำเร็จแล้วก็จะเกิดความรู้สึกที่ดี อารมณ์ทางบวกติดอยู่กับงานนั้น ๆ ยิ่งการทำงานโครงงานคุณธรรมเป็นกลุ่ม การทำงานแบบร่วมมือร่วมพลัง (Collaborative Learning) ร่วมคิดร่วมทำ ก็จะยิ่งทำให้นักเรียนพัฒนาความรู้ไปถึงขั้นสูงสุด ซึ่งเรียกว่าเป็นความรู้แบบขยายประโยชน์สู่สังคม ทำให้สังคมเป็นสุขและเป็นหนึ่งเดียวกัน