สวัสดีคุณครูทุกท่านครับ วันนี้ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ แจกเทมเพลต!!! ประเด็นท้าทายหน้าเดียว แก้ไขด้วย Canva By ครูกิ๊กจ้า :: กฤติยา พลหาญ 5 สี ประเด็นท้าทาย Canva
ประเด็นท้าทาย Canva คืออะไร
อย่างที่ทราบกันดีว่าการประเมินผลการทำงาน เป็นสิ่งที่สำคัญในการแสดงถึงความก้าวหน้า ความสามารถ หรือบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการทำงาน ในวันนี้ทาง Starfish Labz จะมาพูดถึงการกำหนดความก้าวหน้าในอาชีพครู การทำวิทยาฐานะในรูปแบบ ว PA ที่ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยระยะเวลาการสอน (ปี) หรือจำนวนชั่วโมงในการอบรม
การเป็นครูผู้ช่วยจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
การเป็นครูผู้ช่วยพอเข้ามาสู่ระบบวิชาชีพครู อย่างแรกคือ การศึกษา “มาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย” เพื่อให้ทราบถึงลักษณะงานที่ปฏิบัติของครูไม่ว่าจะตำแหน่งใด ในส่วนของการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ต่างๆ และการพัฒนาตนเองในวิชาชีพ ซึ่งสิ่งที่ไม่แตกต่างในแต่ละตำแหน่งของครู คือ การจัดการเรียนรู้ เพียงแต่สิ่งที่คาดหวังระหว่างครูผู้ช่วยกับครูบรรจุ คือสมรรถนะในการที่จะปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่า “ระดับปฏิบัติที่คาดหวัง” โดยครูผู้ช่วยจะอยู่ในส่วนของการปฏิบัติ และการเรียนรู้ แต่พอมาเป็นครูเริ่มมีภาระหน้าที่งานต่างๆ มากขึ้น จะอยู่ในส่วนของการปรับ และประยุกต์นำมาใช้ในการทำงาน หลังจากนั้นจะเป็นการ Coaching หรือการที่มีครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการนำองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอน และการเป็นครูผู้ช่วยจะต้องผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี ก็จะได้รับการบรรจุให้เป็นครูต่อไป
ครูผู้ช่วยสามารถบรรจุได้ ภายใน 2 ปี ถึงแม้ว่าจะสอนไม่เก่ง ใช่หรือไม่
ในการบรรจุจากครูผู้ช่วยเป็นครูจะไม่ใช้ คำว่า“ได้โดยอัตโนมัติ”เนื่องจากมีกลไกของการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม และมีการประเมินในรูปแบบการประเมินเพื่อการพัฒนา จึงเชื่อมั่นได้ว่า ครูที่ผ่านการบรรจุเป็นผู้ที่ความรู้ความสามารถ
คำว่า คศ.1 , คศ.2 หมายถึงอะไร
หมายถึง อันดับเงินเดือน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ กล่าวคือ ถ้าเป็นครูที่ยังไม่มีวิทยาฐานะ รับเงินเดือนในอันดับ คศ.1 ซึ่งโดยตำแหน่งเป็นตำแหน่ง “ครู” หลังการสั่งสมประสบการณ์จนเป็นครูที่มีวิทยฐานะ ซึ่งวิทยาฐานะเริ่มแรกของครู คือ “ครูชำนาญการ” รับอันดับเงินเดือน คศ.2 ถัดไป คือ “ครูชำนาญการพิเศษ” รับเงินเดือนอันดับ คศ3. วิทยาฐานะ “ครูเชี่ยวชาญ” รับเงินเดือนอันดับ คศ4. และวิทยาฐานะ “ครูเชี่ยวชาญพิเศษ”ซึ่งเป็นวิทยาฐานะสูงสุด รับเงินเดือนอันดับ คศ5. เทียบเท่าระดับ 10
การทำวิทยาฐานะมีระยะเวลาที่ต่างกันหรือไม่
ปัจจุบันนี้ได้มีการปรับในเรื่องของมาตรฐาน ตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ กล่าวคือ แต่ละวิทยฐานะจะใช้ระยะเวลา 4 ปี รวมทั้งหมด 4 วิทยฐานะ และการเป็นครูผู้ช่วย 2 ปี ซึ่งระบบวิทยาฐานะของครู เป็นระบบที่ไม่มีข้อจำกัดของโครงสร้าง ซึ่งครูทุกคนที่ได้สร้างสมประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ พัฒนาศักยภาพของตนเองและนำไปสู่ผู้เรียนได้ สามารถไปสู่ขั้นสูงสุดของวิชาชีพครู (ระดับ 10) ได้
จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า จำนวนครูทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นครูชำนาญการพิเศษ แต่คุณภาพการศึกษาไม่เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความบกพร่องของระบบเดิมหรือไม่
หลังจากที่ครูเข้ามาสู่ระบบแล้ว อาจเนื่องด้วยกลไกของระบบ ที่ไม่มีการติดตามถึงสิ่งที่เป็นสมรรถนะในครูชำนาญการพิเศษ พอไม่มีกลไกที่ควรจะเป็นกลไกธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ในโรงเรียน จึงเปรียบเสมือนว่าเป็นงานประจำของครูทุกคน ดังนั้น จึงมองว่ามันเป็นจุดที่เป็นสำคัญของระบบเช่นกัน ในการจะทำอย่างไรเพื่อดึงครูชำนาญการพิเศษเหล่านี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีแรงบันดาลใจ มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาเด็ก ให้สามารถขับเคลื่อน พัฒนางาน พัฒนาฝีมือหรือศักยภาพของตัวเองต่อไป เพื่อให้เด็กมีคุณภาพ และในขณะเดียวกันสามารถที่จะนำเอาผลการพัฒนาคุณภาพเด็กมาใช้ในการเสริมสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเองในอีกระดับ ซึ่งเป็นระบบที่จะนำไปสู่เกณฑ์ PA