วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกภาษาไทยแบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 % ขึ้นไป

แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 % ขึ้นไป

สวัสดีคุณครู และผู้เข้าร่วมทุกท่าน วันนี้ปันสื่อฟรีดอทคอม ขอนำเสนอ แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 % ขึ้นไป
โดยโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคมกิจกรรม “ความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย” ระดับความรู้เบื้องต้น : กิจกรรมวันภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2565

คำชี้แจง

เรื่อง “ความรู้พื้นฐาน ทางภาษาไทย” ระดับความรู้เบื้องต้น
แบบทดสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “ความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย” ระดับความรู้เบื้องต้น หากตอบคำถามผ่านในระดับคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 จะได้รับเกียรติบัตรผ่านการทดสอบ

ตัวอย่างเกียรติบัตรความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย

ตัวอย่างเกียรติบัตรความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย
ตัวอย่างเกียรติบัตรความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย

หมายเหตุ
หากตอบคำถามผ่านในระดับคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 จะได้รับเกียรติบัตรผ่านการทดสอบ

ความหมายของภาษา

 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า “ภาษา” ไว้ว่า ภาษา น.
เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ คำพูด,ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๘๗)  ภาษา คือ ระบบที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เป็นสัญลักษณ์ที่มีระเบียบแบบแผน ซึ่งเป็นที่ตลงยอมรับกันในหมู่สังคมมนุษย์
เป็นสื่อกลางของวัฒนธรรม พฤติกรรม และความคิดของมนุษย์ (พัชรี โภคาสัมฤทธิ์)  ภาษาประกอบด้วย เสียง ตัวอักษร และความหมาย การจำแนกภาษาตามวิธีแสดงออกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.  วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

2.  อวัจนภาษา  คือ ภาษาที่ใช้ท่าทาง อากัปกิริยา สีหน้าหรือแววตาช่วยสื่อความหมายแทนการใช้ถ้อยคำ

    อาจสรุปได้ว่า ภาษา คือ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมาย ทุกภาษาจะมีภาษาพูดก่อนภาษาเขียน บางภาษาไม่มีภาษาเขียน นักภาษาศาสตร์พบว่ามนุษย์มีภาษาพูดประมาณ 3,000 ภาษา ในขณะที่มีภาษาเขียนเพียง 400 ภาษาเท่านั้น

ความสำคัญของภาษา

คนไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติมานานกว่า ๗๐๐ ปีแล้ว ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นความภูมิใจ ถือเป็นสมบัติของชาติที่คนไทยในชาติพึงหวงแหนรักษาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัชให้คนไทยเห็นความสำคัญของภาษาไทย ดังนี้

    “…ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง ถือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างยิ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเรา หลายประเทศมีมีภาษาของตนเอง ไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่ค่อยแข็งแรงเขาต้องพยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรยิ่งที่จะรักษาไว้…”

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นถึงการตระหนักในความสำคัญของภาษาไว้ในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง ความเป็นชาติโดยแท้จริง ดังนี้

    “…ภาษาเป็นเครื่องผูกพันธ์ของมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรจะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน หรือแน่นอนยอ่งไปว่าพูดภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้นรัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติ ต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนและออกบัญญัติบังคับให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของปกครอง…”

หมายเหตุ
หากตอบคำถามผ่านในระดับคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 จะได้รับเกียรติบัตรผ่านการทดสอบ

ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย ไฟล์ PDF

ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทางภาษาไทย ไฟล์ PDF
ตัวอย่างหนังสือความรู้พื้นฐานทาง ภาษาไทย ไฟล์ PDF
บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม