วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกอบรมออนไลน์แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสัปดาห์ห้องสมุด ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 80 % ขึ้นไป

แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสัปดาห์ห้องสมุด ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 80 % ขึ้นไป

สวัสดีครับ วันนี้เว็บไซต์ ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 80 % ขึ้นไป

คำชี้แจง

1. กรอกข้อมูล และตอบคำถามให้ครบ
2. ผู้ผ่านการทดสอบ 70% ขึ้นไป สามารถรับเกียรติบัตรได้ที่ E-mail (กรุณากรอก E-mail ให้ถูกต้อง)
ตามที่ท่านได้แจ้งไว้

ให้ผู้เข้ากิจกรรม อ่านเนื้อหา เรื่องรางวัลซีไรต์ 2564

ตัวอย่างเกียรติบัตรกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

ตัวอย่างเกียรติบัตรกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ตัวอย่างเกียรติบัตรกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน

หมายเหตุ
กรุณากรอกอีเมล์ Gmail เพื่อส่งเกียรติบัตรออนไลน์ หากท่านทำแบบทดสอบผ่าน 80%
*ผู้ทดสอบสามารถทำแบบทดสอบได้เพียง 1 ครั้ง

แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาคนและพัฒนาสังคม การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลายแม้ในหมู่ผู้รู้หนังสือแล้ว
โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่ดีและมีสาระยิ่งมีน้อยขึ้นไปอีก สาเหตุมีอยู่หลายประการนับตั้งแต่การขาดแคลนหนังสือที่ดีและตรงกับความต้องการของผู้อ่าน การขาดแคลนแหล่งหนังสือที่จะยืมอ่านได้ ไปจนถึงการดึงความสนใจและการแย่งเวลาของสื่ออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ รวมทั้งขาดแรงจูงใจ และการชักจูง
การกระตุ้น และมีนิสัยรักการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน เมื่อเทียบกับความเพลิดเพลินและการได้ฟังได้รู้เห็นเรื่องต่าง ๆ จากโทรทัศน์และวิทยุแล้ว การอ่านหนังสือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องใช้ความพยายามมากกว่าและต้องมีทักษะในการอ่าน ถ้าจะให้การอ่านหนังเกิดเป็นนิสัยจำเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักอ่าน ซึ่งควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ
2. ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ และน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น
3. แนะนำ กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
4. สร้างบรรยากาศที่น่าอ่าน รวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ

ประวัติ ศิริวร แก้วกาญจน์

สำหรับประวัติ ศิริวร แก้วกาญจน์  เขาเป็นจิตรกร กวี และนักเขียนชาวไทย ผู้มีผลงานโดดเด่นและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์มากที่สุดในประเทศไทย โดยศิริวร จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้เขาเริ่มเข้าสู่โลกการอ่านอย่างจริงจัง

  • ตอนเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช
  • จากนั้นก็ เข้าไปเป็นทหารอยู่ในกองทัพภาคที่ 4 เป็นเวลา 1 ปี
  • เข้ากรุงเทพฯ ปี พ.ศ. 2534 รับจ้างทำงานประติมากรรมอยู่ราวๆ ครึ่งปี
  • จากนั้นก็เข้าไปประจำอยู่ในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์เล่มหนึ่ง พร้อมกับเขียนบทกวีและเขียนรูปไปด้วย

ศิริวร เริ่มเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่อลาออกจากงานประจำที่หนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ฉบับดังกล่าว หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จากนั้นเขาไม่เคยเข้าทำงานประจำที่ไหนอีกเลย

ปัจจุบันมีผลงานมาแล้วหลายเล่ม ทั้ง

  • บทกวี
  • ความเรียง
  • เรื่องสั้น
  • นวนิยาย
  • ทั้งนี้ ศิริวร ยังเคยได้รับ
  • รางวัลดีเด่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติปี พ.ศ. 2547 จากรวมเรื่องสั้น เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง
  • รางวัลบทกวีของสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2538 จากบทกวีชื่อ ณ ซอกมุมสมัยและใครเหล่านั้น’ ปี พ.ศ. 2539 จากบทกวีชื่อ พเนจร

มีผลงานผ่านเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำประเทศไทย 8 ครั้ง (9 เล่ม) คือ

  • ปี พ.ศ. 2547 กวีนิพนธ์ ประเทศที่สาบสูญ
  • ปี พ.ศ. 2548 รวมเรื่องสั้น เรื่องเล่าของคนบันทึกเรื่องเล่าที่นักเล่าเรื่องคนหนึ่งเล่าให้เขาฟัง
  • ปี พ.ศ. 2549 นวนิยาย กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด
  • ปี พ.ศ. 2550 กวีนิพนธ์ เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก และ ลงเรือมาเมื่อวาน
  • ปี พ.ศ. 2551 รวมเรื่องสั้น ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่นๆ
  • ปี พ.ศ. 2553 กวีนิพนธ์ ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง
  • ปี พ.ศ. 2554 รวมเรื่องสั้น ‘ความมหัศจจรย์ครั้งยิ่งใหญ่และเรื่องราวอื่นๆ’
  • ปี พ.ศ. 2555 นวนิยาย ‘โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า

ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

การจัดกรรมส่งเสริม การอ่านให้มีประสิทธิภาพควรมีการเตรียมพร้อมและคำนึงถึงในเรื่องต่อไปนี้

1.จัดห้องสมุดสำหรับให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าสู่บรรยากาศของการอ่านและได้ใกล้ชิดกับหนังสือมากยิ่งขึ้น เช่นจัดนิทรรศการหนังสือในโอกาสต่างๆจัดกิจกรรมเพื่อชวนให้อ่านหนังสือสม่ำเสมอฯ

2.ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน ควรมรการศึกษา เตรียมพร้อมทั้งในด้านวิธีการดำเนินการสื่ออุปกรณ์เพื่อให้การจัดกิจกรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามเป้าหมาย และจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนิสัยรักการอ่านด้วย

3.การจัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่านต้องเป็นกิจกรรมที่เร้าใจท้าทายความสนใจความสามารถของผู้เรียนรวมทั้งมีความหลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างมีความสุข และเป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

4.ครูผู้จัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่านควรเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการอ่านของนักเรียนรายบุคคลเพื่อที่จะจัดกิจกรรมสนองกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม

5. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน หากนำตัวอย่างจากเอกสารฉบับนี้ไปใช้ ควรปรับปรุงหรือดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้กิจกรรมดูน่าสนใจแปลกใหม่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

6.นอกจากโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้แก่นักเรียน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ผู้ปกครองอีกทางหนึ่งด้วยเพื่อให้การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

หมายเหตุ
กรุณากรอกอีเมล์ Gmail เพื่อส่งเกียรติบัตรออนไลน์ หากท่านทำแบบทดสอบผ่าน 80%
*ผู้ทดสอบสามารถทำแบบทดสอบได้เพียง 1 ครั้ง

แนวทางการส่งเสริมการอ่าน

แนวทางการส่งเสริมการอ่าน
แนวทางการส่งเสริมการอ่าน
บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม