สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้ ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการพัฒนาหนังสือภาพสำหรับเด็กไทยช่วงอายุ 6-9 ปี ที่ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม โดย อาจารย์อนุสรา ดีไหว้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้วิจัยแนวทางการพัฒนาหนังสือ
อาจารย์อนุสรา ดีไหว้
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คำชี้แจง
ช่วงประถมศึกษาตอนต้น อายุ 6-9 ปี นับเป็นวัยเริ่มต้นการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ผ่านการอ่าน การเขียน และการเรียนรู้ประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการใช้หนังสือภาพในการสื่อสารกับเด็กยังเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากองค์ประกอบหลักของหนังสือสำหรับเด็ก ได้แก่ เนื้อหา ภาษา และภาพประกอบ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เด็กเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น ผ่านเนื้อหาที่เหมาะสมกับความสนใจเด็ก ภาษาที่ละเมียดละไม ถูกต้อง สมวัย และภาพประกอบที่สวยงามสดใส ไม่ซับซ้อนแต่ช่วยสื่อความหมายของเรื่องราวได้อย่างชัดเจน พร้อมช่วยเสริมจินตนาการแก่เด็กๆ ได้มากยิ่งขึ้น
นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า “อาจารย์อนุสรา ดีไหว้ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก ศูนย์การศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ศึกษาวิจัยกลวิธีการนำเสนอหนังสือภาพสำหรับเด็กไทย ช่วงอายุ 6-9 ปี ที่ส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างปี พ.ศ. 2553-2563 จำนวน 46 เรื่อง ซึ่งคัดเลือกเฉพาะหนังสือภาพสำหรับเด็กประเภทบันเทิงคดี ที่มีเนื้อหามุ่งเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการอยู่ร่วมกัน ที่สร้างสรรค์โดยนักเขียนและนักวาดภาพประกอบของไทย และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับกว้าง โดยวิเคราะห์ทั้งด้านเนื้อหา การใช้ภาษา และภาพประกอบตามหลักองค์ประกอบของหนังสือภาพสำหรับเด็ก และศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหนังสือภาพสำหรับเด็กดังกล่าว ทางแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. เล็งเห็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยนี้ ทั้งต่อสำนักพิมพ์ผู้ผลิตหนังสือเด็กที่จะได้ศึกษา นำข้อมูลไปออกแบบผลิตหนังสือเพื่อพัฒนาเด็กช่วงวัยนี้ ซึ่งเป็นวัยสำคัญยิ่งที่จะก้าวข้ามรอยต่อ (transition) จากเด็กเล็กสู่การเรียนรู้ที่มากขึ้น หากสามารถหนุนเสริมสื่อที่นำกระบวนการสู่การค้นหาคำตอบใหม่ๆ ที่เด็กสนใจใคร่รู้ จะสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้น และเป็นแรงตุ้นความอยากรู้ อยากเห็นความกระตือรือร้นได้อย่างมาก ส่วนพ่อแม่ที่มีลูกในวัย 6-9 ปี ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้คำนึงถึงความสำคัญในการเลือกหนังสือให้เหมาะสมสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ ทางแผนงานฯ การอ่าน สสส. ขอขอบคุณ
นักวิจัย : อาจารย์อนุสรา ดีไหว้ ที่ได้อนุญาตเผยแพร่ผลงานวิจัยนี้ มา ณ โอกาสนี้