วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกไม่จัดหมวดหมู่แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรคำที่ประสมด้วยสระแอ ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 % ขึ้นไป โดย เพจความรู้ไม่มีหมด

แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรคำที่ประสมด้วยสระแอ ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 % ขึ้นไป โดย เพจความรู้ไม่มีหมด

สวัสดีครับ วันนี้เว็บไซต์ ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ แบบทดสอบออนไลน์ หลักสูตรคำที่ประสมด้วยสระแอ
ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 % ขึ้นไป โดย เพจความรู้ไม่มีหมด

คำชี้แจง

1. ข้อสอบ  10 ข้อ ถูก 8 ข้อขึ้นไป จะได้รับเกียรติบัตรทางอีเมล
2. ผู้ผ่านการทดสอบ 70% ขึ้นไป สามารถรับเกียรติบัตรได้ที่ E-mail (กรุณากรอก E-mail ให้ถูกต้อง)
ตามที่ท่านได้แจ้งไว้
3. วันละ 100 ท่าน

ตัวอย่างเกียรติบัตรคำที่ประสมด้วยสระแอ

ตัวอย่างเกียรติบัตรคำที่ประสมด้วยสระแอ
ตัวอย่างเกียรติบัตรคำที่ประสมด้วยสระแอ

คำประสมคืออะไร

คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมกันเป็นคำใหม่ เกิดความหมายใหม่  และคำที่นำมารวมกันนั้นอาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่ต้องมีความหมายที่ต่างกัน เมื่อรวมกันเป็นคำใหม่แล้ว คำมูลที่มีความหมายหลักจะอยู่หน้า คำมูลที่เป็นส่วนขยายจะอยู่หลัง
                     คำประสมประกอบด้วนคำชนิดใดก็ได้อาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ หรือบุพบท และอาจทำหน้าที่ได้ต่าง ๆ เช่น  ทำหน้าที่อย่างคำนาม คำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์
                     คำที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันส่วนมากเป็นคำประสม เช่น สะพานแขวน เรือหางยาว บานเลื่อน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกียร์อัตโนมัติ หัวคะแนน กินเปล่า ใต้โต๊ะ

วิธีสร้างคำประสม

คำประสมมีวิธีสร้างคำได้ต่าง ๆ ดังนี้

  1. คำตั้งเป็นนาม ทำหน้าที่อย่างนาม
  2. คำขยายเป็นนามหรือสรรพนาม เช่น พ่อบ้าน ม่ครัว ชาวบ้าน ไฟฟ้า พระคุณท่าน เกล้ากระหม่อม หม่อมฉัน
  3. คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น มดแดง ถั่วเขียว ผู้ดี บ้านนอก นางใน
  4. คำขยายเป็นกริยา เช่น สมุดพก ของใช้ แบบเรียน ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน
  5. คำตั้งเป็นกริยา ทำหน้าที่อย่างกริยา
  6. คำขยายเป็นคำนาม เช่น กินใจ กินตัว กินลม เข้าใจ เข้าเนื้อ เข้าฝัก จับใจ จับตา จับยาม
  7. คำขยายเป็นกริยา เช่น ท่องจำ ค้นคว้า ตื่นเต้น ปกครอง ล่วงรู้
  8. คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น งอกงาม วางโต อวดดี เดือดร้อน ตกต่ำ เป็นกลาง กินนอก กินใน
  9. คำตั้งเป็นวิเศษณ์ ที่หน้าที่อย่างวิเศษณ์
  10. คำขยายเป็นนาม เช่น สองใจ หลายใจ สองหัว สามเกลอ สามง่าม สามตา สามขุม
  11. คำขยายเป็นวิเศษณ์  เช่น ดำแดง อ่อนหวาน เขียวหวาน ( แกง, ส้ม ) สุกดิบ ( วัน )
  12. คำตั้งเป็นบุพบท ทำหน้าที่อย่างบุพบท
  13. คำขยายเป็นนาม เช่น กลางบ้าน ( ยา ) ข้างถนน ( เด็ก ) นอกคอก ( ลูก ) ในที ซึ่งหน้า ต่งหน้า ใต้เท้า
  14. คำขยายเป็นกริยา เช่น ตามมีตามเกิด
บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม