วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 19, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกอบรมออนไลน์แบบทดสอบออนไลน์ แม่น มั่ว หรือชัวร์จริง กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E- mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 60 % ขึ้นไป

แบบทดสอบออนไลน์ แม่น มั่ว หรือชัวร์จริง กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E- mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 60 % ขึ้นไป

สวัสดีครับ วันนี้ ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ แบบทดสอบออนไลน์ แม่น มั่ว หรือชัวร์จริง กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E- mail หากทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 60 % ขึ้นไป

คำชี้แจงแบบทดสอบวิทยาศาสตร์

คำชี้แจงแบบทดสอบวิทยาศาสตร์
คำชี้แจงแบบทดสอบวิทยาศาสตร์

แบบทดสอบการความรู้ทั่วไปทางวิทยาศาสตร์เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

– ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบทดสอบ จะเก็บเป็นความลับ ไม่มีการเผยแพร่ใดๆทั้งสิ้น

– ขอให้ท่านตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียด โดยเฉพาะชื่อ นามสกุล และ e-mail เพื่อรับเกียรติบัตร เนื่องจากเกียรติบัตรออกด้วยระบบอัตโนมัติ ไม่สามารถแก้ไขชื่อ-นามสกุลได้ค่ะ

ตัวอย่างเกียรติบัตรกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างเกียรติบัตรกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างเกียรติบัตรกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ประวัติความเป็นมาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ประวัติความเป็นมาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ประวัติความเป็นมาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ที่มาของการกำหนดวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เกิดขึ้นเนื่องจากในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ตำบลบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ หลังจากที่ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณการเกิดสุริยุปราคาครั้งแรกได้อย่างแม่นยำ ล่วงหน้า 2 ปี

ซึ่งพระองค์คำนวนไว้ว่า สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร และโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ ทางคณะรัฐมนตรีจึง
กำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”

ทั้งนี้ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ยังได้ร่วมกันจัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2527 งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้รับการขยายให้เป็นงานใหญ่ขึ้น เป็นงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยจะมีการจัดงานในระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม

พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ใน จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า “หอชัชวาลเวียงชัย” ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวง คือ
          1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทอดพระเนตรแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์ทรงสามารถนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก” แจ้งแก่ประชาชน
          2. ดาวหางโดนาติ (Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2401 และคืนต่อ ๆ มา จนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา 9 เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401
          3. ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลกระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่าจะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้ามิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้ เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์ 

บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม