วันศุกร์, กรกฎาคม 26, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกเอกสารเอกสารการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา LearningLoss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย 3 ด้าน

เอกสารการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา LearningLoss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย 3 ด้าน

วันนี้ปันสื่อ นำเอกสารการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา LearningLoss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย มาให้คุณครูได้ดาวน์โหลด

Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย

LearningLoss

สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดจุดเน้นในการเร่งแก้ปัญหา กลุ่มผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยเพิ่มโอกาส ในการเข้าถึงการศึกษาด้วยการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทุกระดับ และเห็นว่าการส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านจะช่วยแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับผู้เรียน เป็นการสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต Learning Loss

เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในระดับสถานศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงจัดทำเอกสารแนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อแก้ปัญหาภาวะ ถดถอยทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ความสำคัญ ของการอ่าน งานบริการของห้องสมุดโรงเรียน แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอย ทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน แนวการคัดเลือกสื่อส่งเสริม นิสัยรักการอ่าน และบทบาทของผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้นำเอกสารฉบับนี้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน และขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเอกสาร รวมทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ที่ให้ข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงเอกสารนี้ จนทำให้ การจัดทำเอกสารฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดีมา ณ โอกาสนี้

“โควิด19” ตัวเร่งความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นำไปสู่ภาวะการเรียนรู้ถดถอย ปัจจัยจากสถานะเศรษฐกิจครัวเรือนที่แตกต่าง การฟื้นฟูต้องทำเป็นรายบุคคล สนับสนุนให้ตรงกับความต้องการ เพิ่มวิธีการเรียนรู้จากเครื่องมือที่หลากหลาย

จากสถานการรณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง  โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กนักเรียน ที่การพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งวิชาการ อารมณ์ และสังคมต้องหยุดชะงัก  เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีมาช้านานจนเกิดภาวะสะสม ส่งผลให้การศึกษาทางไกลไม่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคลได้

โดยจากผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายในครัวเรือน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2562  พบว่าครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจำนวนมาก ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ขณะที่ข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ( OECD) พบว่านักเรียนในโรงเรียนที่มีฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 25% ล่างสุดจากดัชนีชี้วัด Economic , Social  and Cultural Status หรือ ESCS โดยโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) มีนักเรียนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เพียง 61% เท่านั้น และนักเรียน 1 ใน 4 ยังไม่มีพื้นที่เงียบสงบสำหรับการเรียนหนังสือในบ้าน

จากข้อจำกัดทางสถานะทางเศรษฐกิจครัวเรือนส่งผลให้การเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนลดลง นำไปสู่ภาวะ Learning Loss  หรือ การเรียนรู้ถดถอย เกิดปัญหาเชิงคุณภาพ ซึ่งเด็กเล็กในระดับอนุบาล เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการปิดโรงเรียน โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่าการปิดโรงเรียนทำให้การเรียนรู้ของเด็กลดลงเหลือเพียง 1-2 % จากการเรียนรู้ 100% ในการเปิดเรียนปกติ

ผศ.ดร.ยศวีร์  สายฟ้า  รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำจำกัดความ Learning Loss  หรือภาวะการเรียนรู้ถดถอย ไว้ในการเสวนา ชวนคิดชวนคุย ชวนผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเลี้ยงลูก ระบุว่า เป็นภาวะของการเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่มีผลทำให้ทักษะต่างๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสีย ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร  ทักษะด้านความสัมพันธ์จากการที่เด็กบางรายอยู่บ้านจนชิน เมื่อต้องไปโรงเรียนอาจเกิดการกลัวการไปโรงเรียน  เด็กขาดระเบียบวินัยความรับผิดชอบ โดยเฉพาะในเด็กระดับอนุบาล และประถมศึกษา  ที่ขาดการพัฒนาทักษะการเข้าสังคม และทักษะด้านวิชาการอ่าน เขียน

ด้าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและประธานอนุกรรมการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ระบุถึงภาวะการเรียนรู้ถดถอยไว้ใน งานเสวนาออนไลน์ โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ ปิด Gap ห้องเรียนยุคโควิดว่า เด็กนักเรียนแต่ละคน มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ และไม่ได้รับการดูแล ทำให้เกิดช่องว่างทางการศึกษา โดยที่ผ่านมา ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยก็มีมาช้านาน เมื่อเจอกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดช่องว่างมากยิ่งขึ้น แม้นโยบายทางการศึกษาจะต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกันก็ตาม แต่วิธีปฏิบัติจริงกลับเป็นการสร้างความแตกต่าง ตั้งแต่เรื่องงบประมาณของแต่ละโรงเรียน ที่ให้ทุกโรงเรียนเท่ากันหมด ในขณะที่ความต้องการของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน จึงเป็นการสร้างความด้อยโอกาสให้กับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นเมื่อต้องใช้อุปกรณ์ในการเรียนเพิ่ม รวมไปถึงการจัดการศึกษาที่ต่างกันของโรงเรียนขนาดใหญ่ ที่มีความพร้อมมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้เด็กส่วนหนึ่งต้องประสบกับปัญหาภาวะถดถอยทางการศึกษามากขึ้น

ดังนั้น การจะฟื้นฟู Learning Loss  หรือภาวะการเรียนรู้ถดถอย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กได้อย่างครอบคลุมให้ได้นั้น ต้องทำเป็นรายบุคคล เพราะภาวะการถดถอยของนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกัน ครูและสถานศึกษาจะต้องนำผลการเรียนรู้ที่นักเรียนควรจะได้รับ ไปเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนให้ตรงกับความต้องการของนักเรียนแต่ละราย ส่วนการลดเนื้อหาในการเรียนสิ่งที่ไม่จำเป็น และเพิ่มวิธีการเรียนรู้โดยการใช้เครื่องมือที่หลากหลายก็เป็นอีกทางเลือกสำคัญในการรับมือกับความต้องการของเด็กนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน

ดร.นรรธพร  จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ประธานมูลนิธิโรงเรียน สตาร์ฟิชคันทรีโฮม เคยแนะ 5 มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอยไว้ ในกิจกรรรมอบกล่อง Learning Box ว่า  จะต้องเริ่มจากการประเมินสภาพแวดล้อมของเด็กและครอบครัว  ช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล ต้องวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ สนับสนุนเครื่องมือและการพัฒนาครู  ติดตามและปรับปรุงในระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาให้ทัน

  ตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบปัญหาด้านคุณภาพการศึกษามาโดยตลอด สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.)ได้มีการสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาพบว่าการจะยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กลับมาเท่าเดิมนั้น  ควรต้องมีการปฏิรูปตั้งแต่โครงสร้างและนโยบาย  ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทำงานร่วมกัน เพราะเด็กถือว่าเป็นความหวังและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป.

เอกสารการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา Learning Loss

แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้  ดาวน์โหลดที่นี่

แบบวินิจฉัยการอ่านและการเขียนพร้อมทั้งชุดแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 รวม 9 เล่ม 

 เล่ม 1 คู่มือการซ่อมเสริมฯ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-3 ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 2 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ พยัญชนะและสระ ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 3 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำผันวรรณยุกต์ ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 4 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำที่มีสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 5 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 6 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 7 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำควบกล้ำ ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 8 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำที่มีอักษรนำ ดาวน์โหลดที่นี่

 เล่ม 9 แนวทางและแบบฝึกซ่อมเสริมฯ คำที่มีตัวการันต์ ดาวน์โหลดที่นี่

 LearningLoss
 LearningLoss
 LearningLoss

กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 

 เล่มที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา | ระดับมัธยมศึกษา

 เล่มที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา | ระดับมัธยมศึกษา 

 เล่มที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา | ระดับมัธยมศึกษา 

 เล่มที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา | ระดับมัธยมศึกษา

 เล่มที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับประถมศึกษา | ระดับมัธยมศึกษา

 เล่มที่ 6 ด้านทักษะทางสังคม (Social skills) ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา ดาวน์โหลดที่นี่

ที่มา : สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

It has had a global impact due to the COVID-19 pandemic crisis, especially the group of students whose intellectual, emotional, and social development has been interrupted because of the long-standing problem of social inequity that has accumulated. As a result, distance education cannot satisfy the specific learning demands of students.

According to the National Statistical Office’s 2019 household survey on the use of information and communication technology, many homes with children under the age of 15 do not have a computer. Meanwhile, data from the Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) in the Programmed for International Student Assessment (PISA) shows that only 61 percent of students in the bottom 25% of socioeconomic-based schools on the Economic, Social, and Cultural Status (ESCS) have access to the Internet and 1 in 4 students do not have a quiet space to study at home.

Due to restrictions on household economic status, students’ access to education was reduced, resulting in learning loss. It causes a qualitative issue in which young children in kindergarten are the most negatively impacted by school closures. According to research conducted by the University of the Thai Chamber of Commerce and the Equitable Education Fund (EEF), school closures lowered children’s learning to only 1-2 percent of what they would have learned in a regular course.

Assistant Professor Yotsawee Saifah, Ph.D. Associate Dean of the Faculty of Education, Chulalongkorn University, defined Learning Loss in the discussion program. According to “Let’s Think and Talk with Experts to Help Raise Children”, it is a condition of loss of learning opportunities that results in the loss of skills that children should develop at an age. It affects the development of language and communication as well as relationship skills as some children get used to being at home. When they are going to school, there may be a fear of going to school. Children lack discipline and responsibility, especially in kindergarten children and primary school, and lack the development of social and academic skills such as reading and writing.

On the other hand, Professor Vicharn Panich, M.D., an advisor to the Board of the Equitable Education Fund (EEF) and the chairman of the Whole School Development System, identified the Learning Loss in an online seminar on the topic of Schools have changed and Learning Gap in the COVID-19 era. He stated that each student had a different basis. Due to educational gaps, a number of children did not achieve their learning goals and were not fully supervised. From the past to the present, inequality in Thailand’s educational system has been a long-standing issue. It is considerably more exciting to generate additional gaps when faced with the COVID-19 pandemic.

Despite the fact that education regulations mandate equality, practice makes a difference. Initially, each school’s budget is the same, but each school’s demands are distinct. It puts distance schools at a disadvantage and increases inequity when learning equipment is required. Large schools, for example, are better equipped than small schools in terms of education, causing some children to experience more learning loss problems.

As a result, because each student’s Learning Loss is distinct, restoring Learning Loss to boost educational chances for children must be done individually. Teachers and institutions must compare the expected learning outcomes for students with actual results and analyze them to support the needs of each student. Another essential option for dealing with the various demands of each student is to reduce unneeded learning content and increase learning techniques by employing a range of tools.

Dr. Nanthaporn Janchalia Seributra, the Presidentof StarfishCountry Home School Foundation, has previously suggested five measures to restore learning loss in the Learning Box event. She stated it had to start with evaluations of the child’s and family’s environment. Helping individual students requires planning the entire school system. All sectors support tools and teacher development, follow up and improve in the short term to keep up with problems.

Thailand has always had issues with education quality in the past. The Equitable Education Research Institute (EEFI) has supported various research studies to increase educational opportunities. It is found that in order to raise the quality of education back to the same, there should be reforms in the structure and policies. Because children are the hope and vital force in the nation’s future growth, we require collaboration from all sectors.

บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม