วันศุกร์, กรกฎาคม 26, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกแจกไฟล์แจกฟรี ใบงานเรื่องการเทียบศักราช ป.3 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

แจกฟรี ใบงานเรื่องการเทียบศักราช ป.3 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เว็บไซต์ปันสื่อดอทคอม นำใบงานสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง การเทียบศักราช ป.3 มาแจกฟรี สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

เว็บไซต์ปันสื่อดอทคอม นำใบงานสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง การเทียบศักราช ป.3 มาแจกฟรี สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
เว็บไซต์ปันสื่อดอทคอม นำใบงานสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง การเทียบศักราช ป.3 มาแจกฟรี สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

การใช้ศักราชที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ ไทยและสากล การเทียบให้เป็นแบบเดียวกันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์มากเช่น  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ซึ่งครองราชย์สมบัติระหว่าง พ.ศ. 1822 – 1841  เมื่อเทียบเป็น ค.ศ. จะเท่ากับ  ค.ศ. 1279 – 1298  หรือในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซี่งครองราชย์สมบัติ  ระหว่าง พ.ศ. 2133 – 2148  เมื่อเทียบเป็น ค.ศ. จะเท่ากับ ค.ศ. 1590 – 1605 เป็นต้น การเทียบได้คล่องจะทำให้เราเรียนประวัติศาสตร์ได้อย่างมีความหมายและเข้าใจมากขึ้น ซึ่งการเปรียบเทียบสามารถกระทำได้ง่าย ๆ โดยนำ ตัวเลขผลต่างของอายุศักราชแต่ละ มาบวกหรือลบกับที่เราตัองการ 

หลักเกณฑ์การเทียบ

ศักราช หมายถึง อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆที่นิยมใช้กันและที่สามารถพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แก่ 

พุทธ(พ.ศ.)


 เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานซึ่งแต่เดิมนับเอาวันเพ็ญเดือนหก เป็นวันเปลี่ยนต่อมาเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มนับตามแบบสากล คือ วันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483.เป็นต้นมา 

คริสต์ (ค.ศ.)


 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิด เป็นค.ศ. 1 ซึ่งในขณะนั้นได้มีการใช้ พุทธเป็นเวลาถึง 543 ปีแล้ว การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุริยคติ ดังนั้นวันขึ้น ปีใหม่ของค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี 

มหา (ม.ศ.)


 เริ่มนับเมื่อพระระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครอง คันธาระราฐของอินเดียทรงคิดค้นขึ้น ภายหลังได้เผยแพร่เข้าสู่บริเวณสุวรรณภูมิและประเทศไทย ผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบนี้ 

จุล (จ.ศ.)

เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า “บุพโสระหัน” ลึกออกจากการเป็นพระ เพื่อชิงราชบัลลังก์ในสมัยพุกามอาณาจักรการนับเดือน ปี ของ จ.ศ. จะเป็นแบบจันทรคติ โดยถือวันขึ้น1ค่ำเดือน5เป็นวันขึ้นปีใหม่ 

รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)

 เมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือ วันที่ 1 เมษายน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6)ได้ยกเลิกการใช้ร.ศ.

ฮิจเราะห์(ฮ.ศ.)

 เป็นทางศาสนาอิสลาม เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด กระทำฮิจเราะห์ (Higra แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ อพยพจากเมืองเมกกะ ไปอยู่ที่เมืองเมดินะ เป็นปีเริ่มต้นของอิสลาม

การเปรียบเทียบ

การเปรียบเทียบสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่างของอายุแต่ละมาบวกหรือลบศักราขที่เราต้องการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
ม.ศ. + 621  = พ.ศ. 
พ.ศ. – 621   = ม.ศ. 
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. 
พ.ศ. – 1181 = จ.ศ. 
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. 
พ.ศ. – 2324 = ร.ศ. 
ค.ศ. + 543 = พ.ศ.
พ.ศ. – 543  = ค.ศ. 
ฮ.ศ. + 621  = ค.ศ. 
ค.ศ. – 621   = ฮ.ศ. 
ฮ.ศ. + 1164 = พ.ศ. 
พ.ศ. – 1164 = ฮ.ศ. 
ปัจจุบันที่ใช้กันมาก คือ คริสต์และพุทธเมื่อเปรียบเทียบทั้งสองต้องใช้ 543 บวกหรือลบแล้วแต่กรณี ถ้าเทียบได้คล่องจะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย หรือสากลได้ง่ายขึ้น 

ปัจจุบันมีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น ที่ใช้ปีพุทธในทางราชการและเป็นปีในทางศาสนาควบคู่ไปด้วย โดยเปลี่ยนพุทธในวันที่ 1 มกราคม

ศรีลังกาใช้ปีคริสตเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธในวันวิสาขบูชา

พม่าใช้ปีจุลหรือเมียนมาเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธในวันวิสาขบูชา แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์และความนิยมของประชาชน จะใช้จุลควบคู่กับคริสต

ลาวใช้ปีคริสตเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธในวันสงกรานต์

กัมพูชาใช้ปีคริสตเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธในวันสงกรานต์

จีนใช้ ค.ศ.ในทางราชการมาตั้งแต่แรกสถาปนาประเทศในปี ค.ศ.1949

ไต้หวันจะใช้ ค.ศ.ควบคู่กับปีสาธารณรัฐศก ซึ่งพรรคก๊กมินตั๋งรับสืบทอดมาจากระบบปีรัชศกหรือ     ปีประจำรัชกาลจักรพรรดิของจีนโบราณ

ญี่ปุ่นใช้ ค.ศ.ควบคู่กับปีรัชศกประจำรัชกาลจักรพรรดิมาตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงปัจจุบัน

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะยุ่งยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยเพราะเราใช้การเรียนการสอนเป็น พ.ศ. จึงยากต่อการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของโลกที่ส่วนใหญ่แล้วจะบันทึกเป็น ค.ศ. หากจะแปลงจาก พ.ศ.เป็น ค.ศ.จะต้องเอา 543 มาลบออกหรือบวกเพิ่มในทำนองกลับกัน

ฉะนั้น จึงได้มีการเสนอให้เปลี่ยน”คริสต”หรือ ค.ศ.ซึ่งแต่เดิมใช้ตัวย่อ A.D.(Anno Domini)หรือC.E.(Christian Era) เป็น”สากล”หรือ Common Era (ส.ก.- C.E.) และ Before Common Era (ก่อน ส.ก.- B.C.E )แทน เพื่อให้เป็นสากล และขจัดกลิ่นทางชาตินิยมหรือทางศาสนา เพราะขนาดชาตินิยม แรง ๆ อย่างญี่ปุ่น และจีนยังใช้ C.E.เลย  ส่วนไทยเราผมก็เห็นควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนไปใช้” สากล”หรือ Common Era (ส.ก.- C.E.) เป็นปีราชการด้วยเช่นกัน

ดาวน์โหลดได้ที่นี่

บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม