วันศุกร์, กรกฎาคม 26, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกไม่จัดหมวดหมู่สพฐ. เปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน ลดภาระครูต่อเนื่อง 3 ด้าน เดินหน้า6 ล เช่น ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรม/ที่ซ้ำซ้อน ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ

สพฐ. เปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน ลดภาระครูต่อเนื่อง 3 ด้าน เดินหน้า6 ล เช่น ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรม/ที่ซ้ำซ้อน ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ

สวัสดีคุณครูทุกท่านครับ วันนี้ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ สพฐ. เปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน ลดภาระครูต่อเนื่อง 3 ด้าน เดินหน้า6 ล เช่น ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรม/ที่ซ้ำซ้อน ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ

เนื้อหารายละเอียดเปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน เดินหน้า6 ล

เนื้อหารายละเอียดเปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน เดินหน้า6 ล
เนื้อหารายละเอียดเปิดเทอมใหม่คืนครูสู่ห้องเรียน เดินหน้า6 ล

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความพร้อมในทุกด้านสำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 นี้ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของพล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ตามแนวทาง 6ล ซึ่งมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดภาระครูได้ถึง 3 ด้าน จากผลการดำเนินงานของ สพฐ. ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแนวทางการลดภาระครูของ สพฐ. สามารถทำได้จริงแบบ “ทำดี ทำได้ ทำทันที”

.

สำหรับการลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ตามแนวทาง 6ล ประกอบด้วย 1.ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรม/ตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนและมีผลลัพธ์เดียวกัน 2.ลดปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บ/ประเด็นที่ประเมิน 3.ลด/เลิกการเก็บข้อมูลซ้ำจากเขตพื้นที่/สถานศึกษา 4.ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ/การเขียนด้วยลายมือ 5.ลด/เลิกการจัดเตรียมการเพื่อรองรับการติดตามและประเมิน และ 6.ลดความซ้ำซ้อน/ความถี่ของการติดตามประเมินผล โดยผลการดำเนินงานของ สพฐ. ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา สามารถลดภาระครูได้ถึง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ลดภาระการรายงาน/ประเมินตัวชี้วัด สพฐ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากจำนวน 216 ประเด็น/ตัวชี้วัด ลดลงจำนวน 172 ประเด็น/ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 79.63 เหลือเพียง 44 ประเด็น/ตัวชี้วัด เท่านั้น ด้านที่ 2 ลดภาระการรายงาน/ประเมินจากโครงการ/กิจกรรม/ภาระงานของสำนักส่วนกลาง ที่มีการเก็บข้อมูลรายงาน/ประเมินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษา จากจำนวน 164 โครงการ ลดลง 98 โครงการ นับเป็นกิจกรรม/ภาระงาน จำนวน 282 เรื่อง และด้านที่ 3 ลดภาระการนำเข้าข้อมูล/รายงานข้อมูลโครงการนอกแผนปฏิบัติการประจำปี 2567 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (e-MENSCR) ได้ถึงร้อยละ 100 โดยลดภาระการรายงานข้อมูลโครงการในระบบฯ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่มีจำนวน 10,863 โครงการ เหลือเพียง 5,636 โครงการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และได้ลดภาระโดยยกเลิกการประเมินผลโครงการในระบบฯ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขต ที่มีการดำเนินการกับสถานศึกษา ทั้งสิ้น 5,636 โครงการ

.

“สพฐ. พร้อมดำเนินการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทาง “OBEC Share Together ลดภาระครู มุ่งสู่องค์กรแห่งความสุข” เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ของ สพฐ. ข้อ 4 ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา เป็นอย่างดี ในการเปิดภาคเรียนที่ 1/2567 นี้ ทาง สพฐ. ก็จะดำเนินการลดภาระครูตามแนวทาง 6ล ต่อไป เพื่อคืนเวลาให้ครูได้สอนนักเรียนอย่างเต็มที่ ให้นักเรียนในทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งครูและนักเรียน “เรียนดี มีความสุข” ไปด้วยกัน” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม