วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกเอกสารแจกฟรี วิจัยในชั้นเรียน 5บท ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปี 2566 วิจัยในชั้นเรียน66

แจกฟรี วิจัยในชั้นเรียน 5บท ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปี 2566 วิจัยในชั้นเรียน66

สวัสดีคุณครูทุกท่านครับ วันนี้ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ แจกฟรี วิจัยในชั้นเรียน 5บท ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประจำปี 2566 วิจัยในชั้นเรียน 66

ตัวอย่างเอกสารวิจัยในชั้นเรียน 66

ตัวอย่างเอกสารวิจัยในชั้นเรียน66
ตัวอย่างเอกสารวิจัยในชั้นเรียน 66

วิจัยในชั้นเรียน66 คืออะไร

วิจัยในชั้นเรียน 66 คืออะไร

ารวิจัยในชั้นเรียน  หากแปลความหมายโดยการแยกคำหลัก ๆ  จะเห็นได้ว่าประกอบด้วยคำว่า  “การวิจัย”  และ “ชั้นเรียน” ซึ่งการวิจัยนั้นในบทที่  1 ได้อธิบายความหมาย  ความสำคัญ และหลักการไว้แล้ว  ส่วนคำว่าชั้นเรียน  หากสื่อตามความหมายที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่าสื่อถึง  ครู  นักเรียน   ดังนั้นหากหมายรวมกันแล้วจะเห็นได้ว่า  การวิจัยในชั้นเรียน  จะหมายถึงการวิจัยที่เกี่ยว ข้องกับครูหรือนักเรียน  นอกจากนี้  ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียนนั้นได้มีนักวิชาการ  ได้นิยามความหมายที่คล้ายคลึงกันดังนี้

                การวิจัยในชั้นเรียน  เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมสำหรับแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเน้นในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีปัญหาการเรียนรู้เป็นจุดเริ่มต้น ผู้สอนหาวิธีการ หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา มีการสังเกตและตรวจสอบผลของการแก้ปัญหา/การพัฒนา แล้วจึงบันทึกและสะท้อนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนานั้นๆ การวิจัยในชั้นเรียนมักเป็นการวิจัยขนาดเล็ก (Small scale) ที่ดำเนินการโดยผู้สอน เป็นกระบวนการที่ผู้สอนสะท้อนการปฏิบัติงาน และเสริมพลังอำนาจให้ครูผู้สอน ( Field ,1997  อ้างถึงในสุภัทรา เอื้อวงศ์  ออนไลน์  2554)

การวิจัยในชั้นเรียน  เป็นการแก้ปัญหาและ/หรือพัฒนางานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดยอาศัยกระบวนการวิจัยในการดำเนินงานทั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญที่อยู่ที่การเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับ   (รัตนะ  บัวสนธ์,2544)

การวิจัยในชั้นเรียน  เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าที่สะท้อนตัวครูและกลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติงานในสถานการณ์สังคม เพื่อค้นหาลักษณะที่เหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับภาวะของสังคมหรือสถานการณ์ ด้วยความร่วมมือของเพื่อนครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวข้อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อพินิจพิเคราะห์การกระทำของตนเองและกลุ่ม เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงแบบมีแผน ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียน จึงไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ปัญหา แต่จะเป็นการตั้งปัญหาจากแรงกระตุ้นของผู้วิจัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพัฒนา แล้วปฏิบัติสังเกต สะท้อนกลับเป็นวัฏจักรของการวิจัยที่หมุนไปเรื่อย ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสร้างภาพลักษณ์ของการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น(ส. วาสนา ประวาลพฤกษ์,2541)

บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม