วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024

ติดต่อลงโฆษณา โทร : 065 334 8667 (คุณจิรภัทร แสงจันทร์)

หน้าแรกเอกสารแจกฟรี คู่มือการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ประจำปี 2565 ไฟล์ PDF โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษา

แจกฟรี คู่มือการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ประจำปี 2565 ไฟล์ PDF โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษา

สวัสดีคุณครูทุกท่านนะครับ วันนี้เว็บไซต์ ปันสื่อฟรี ขอนำเสนอ คู่มือการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ประจำปี 2565 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษา

ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้

ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่างไฟล์คู่มือการจัดการเรียนรู้

นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

  • สุรางค์  โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์  ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
  • สุรางค์  โค้วตระกุล (2550:186)ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์  ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน
  • สิริอร  วิชชาวุธ (2554:2)  ได้กล่าวว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
    1. มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจากไม่รู้ เป็นรู้  ทำไม่ได้ เป็นได้  ไม่เคยทำ เป็นทำ
    2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างถาวร
    3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น  เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคล  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต  ทั้งจากการฝึกฝน  การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น

องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้

  • ผู้สอน จำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ เพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของตน และการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใด จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการดังต่อไปนี้
    1. ผู้เรียน
    2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
    3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน บรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน
  • ผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถของสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพผู้เรียน

บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้

บรรยากาศใฝ่รู้ใฝ่เรียนถือเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยาที่สำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนต้องมีทักษะ ประสบการณ์และจิตวิทยาในการสร้างบรรยากาศดังกล่าวได้โดยเลือก รูปแบบ (Model) วิธีการ (Innovation) เครื่องมือ (Media) ตลอดจนเทคโนโลยี(Technology) เพิ่มเสริมสร้างบรรยากาศที่เร้าให้ผู้เรียน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มากยิ่งขึ้น

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในห้องเรียน ครูผู้สอนควรสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกกลุ่มที่มีศักยภาพแตกต่างกัน ด้วยความเอื้ออาทรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน ที่จะก้าวอย่างมั่นคงเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลให้สูงยิ่งขึ้น และอย่าลืมว่า

  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพต่ำต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้สอนและเพื่อนนักเรียนในการเรียนรู้ให้ประสพผลสำเร็จ
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพปานกลาง ต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองภายใต้การประคับประคองและให้กำลังใจของครู
  • ผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้การให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จากครูผู้สอน ให้โอกาส ผู้เรียนใช้ความฝัน จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้

ขอบคุณ :: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษา

บมความล่าสุด

ทิ้งคำตอบไว้

Please rate*
กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
Google search engine

ยอดนิยม